Today Tuesday, 2nd July 2024
Abhinavjournal

Experience Excellence & Beyond

พลังงานลมสามารถผลิตในไทยได้หรือไม่?

พลังงานลมสามารถผลิตในไทยได้หรือไม่?

สภาพอากาศที่ร้อนสุดขั้วแปลกไปจากอดีตหรือจะเป็นพายุฝนฟ้าคะนองในต่างประเทศ รวมๆ แล้วคือปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันมีผลกระทบต่อพวกเรามากขึ้นเรื่อยๆ จึงทำให้มีการพีฒนาพลังงานทางเลือกหรือพลังงานสะอาดที่จะช่วยลดมลภาวะต่างๆ ให้ดีขึ้น อีกทั้งยังเป็นการประหยัดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงที่เป็นตัวก่อเกิดมลพิษต่างๆ ได้อีกด้วย บทความนี้จะพาทุกๆ ท่านไปพบกับ “พลังงานสะอาดและพลังงานลมสามารถผลิตในไทยได้หรือไม่?” กันครับ จะเป็นอย่างไรบ้างนั้น เราไปดูกันดีกว่าครับ

ทำความรู้จักกับพลังงานสะอาด

พลังงานสะอาด คือ พลังงานที่ได้จากทรัพยากรทางธรรมชาติหรือกระบวนการผลิตที่เกิดขึ้นได้ซ้ำ ๆ อย่างไม่มีจำกัด พลังงานสะอาดถือเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่สร้างผลกระทบ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศเหมือนพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นระหว่างกระบวนการผลิต แปรรูป การใช้ประโยชน์ ไปจนถึงการจัดการของเสีย

พลังงานลมเป็นอย่างไร?

พลังงานลมเป็นอีกหนึ่งพลังงานสะอาดที่ใช้แล้วไม่หมดไป เราสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมได้ด้วยการใช้กังหันลมในการเปลี่ยนพลังงานจลน์ที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของลม จากนั้นจึงเปลี่ยนเป็นพลังงานกลอีกทอดหนึ่งเพื่อใช้ในการหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าต่อไป ส่วนแล้วใหญ่มักผลิตได้ตามพื้นที่เนินเขา ภูเขาในพื้นที่ห่างไกล หรือชายฝั่งทะเล ซึ่งจะมีทั้งลมทะเลและลมนอกชายฝั่ง ปัจจุบันอาจพบในรูปแบบของทุ่งกังหันลม แต่สำหรับในประเทศไทยเองจะมีอุปสรรคในด้านของความเร็วลม ทำให้ยังไม่สามารถดึงศักยภาพในการใช้ประโยชน์จากพลังงานลมได้เต็มที่ โดยชนิดของกังหันลม จำแนกตามลักษณะแนวแกนหมุนของกังหันจะได้ 2 แบบ คือ

●กังหันลมแกนหมุนแนวตั้ง (Vertical Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุน และใบพัดตั้งฉากกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ

●กังหันลมแกนหมุนแนวนอน (Horizontal Axis Wind Turbine) เป็นกังหันลมที่มีแกนหมุนขนานกับการเคลื่อนที่ของลมในแนวราบ โดยมีใบพัดเป็นตัวตั้งฉากรับแรงลม

เราสามารถใช้พลังงานลมมาผลิตไฟฟ้าได้อย่างไร?

การผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลม คือ การนำลมมาใช้ประโยชน์จะต้องอาศัยเครื่องจักรกลสำคัญ คือ “กังหันลม” ในการเปลี่ยน พลังงานจลน์จากการเคลื่อนที่ของลม เป็นพลังงานกลก่อนนำไปใช้ประโยชน์ ที่สำคัญพลังงานลม ใช้ไม่มีวันหมด และกระบวนการผลิตไฟฟ้าจากลมยังไม่ปล่อยของเสียที่เป็นอันตรายต่อ สภาพแวดล้อม

แต่การใช้พลังงานลมเพื่อการผลิตไฟฟ้าความเร็วลมจะต้องสม่ำเสมอ หรือกำลังลม เฉลี่ยทั้งปีควรไม่น้อยกว่าระดับ 6.4 – 7.0 เมตรต่อวินาที ที่ความสูง 50 เมตร ถึงจะสามารถ ผลิตไฟฟ้าจากกังหันลมได้ดี ภูมิประเทศที่มีความเร็วลมเหมาะสมได้แก่บริเวณฝั่งทะเลแถบยุโรป เหนือ หรือช่องเขาในอเมริกา

โรงไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศไทยหรือไม่?

จากภูมิประเทศของประเทศไทย ทำให้เรามีความเร็วลมเฉลี่ยของประเทศอยู่ในระดับปานกลาง – ต่ำ มีความเร็วลมเฉลี่ยต่ำกว่า 4 เมตร/วินาที แต่ เทคโนโลยีกังหันลมเพื่อผลิตไฟฟ้าในยุโรปส่วนใหญ่ออกแบบให้ทำงานเหมาะสมกับความเร็วลมเฉลี่ยเกินกว่า 8 เมตรต่อวินาทีขึ้นไป จึงทำให้สามารถผลิตไฟฟ้าได้ไม่เท่าที่ควรจะเป็น ต้องอาศัย ลมประจำปี ลมประจำฤดู และลมประจำเวลา เข้าช่วยครับ

สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยพลังงานลมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปัจจุบัน (ข้อมูลปี พ.ศ.2562) มีกำลังผลิตไฟฟ้ารวมประมาณ 26 เมกะวัตต์ โดยมีกังหันลมผลิตไฟฟ้าที่สำคัญ 2 แห่ง ได้แก่  กังหันลมแหลมพรหมเทพ จ. ภูเก็ต กำลังผลิต 0.19235 เมกะวัตต์  และกังหันลมลำตะคอง จ. นครราชสีมา กำลังผลิต 2.50 เมกะวัตต์

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “พลังงานลมสามารถผลิตในไทยได้หรือไม่?” ที่พวกเราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นกันครับ คิดว่าเป็นข้อมูลและประโยชน์ที่น่าสนใจมากๆ เลยหล่ะ

Franklin Wood

Related Posts

Read also x