Today Saturday, 27th April 2024
Abhinavjournal

Experience Excellence & Beyond

ทำไมถึงไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่ร่วมกับขยะอื่นๆ

ทำไมถึงไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่ร่วมกับขยะอื่นๆ

หากกล่าวถึงเรื่องของการคัดแยกชยะในปัจจุบันแล้วนั้น ก็มีการรณรงค์กันอย่างมากมายเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและขจัดสารปมเปื้อนที่อาจเกิดจากการทิ้งขยะไม่ถูกรูปแบบ วันนี้เราอยากจะมาแชร์เกี่ยวกับเหตุผลที่ว่า “ทำไมถึงไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่ร่วมกับขยะอื่นๆ” กันสักหน่อยเพื่อให้ทุกๆ ท่านตระหนักและเข้าใจถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกันครับ จะเป็นอย่างไรกันบ้างนั้น…เราไปชมกันสักหน่อยดีกว่าครับ

แบตเตอรี่ทำมาจากอะไร?

แบตเตอรี่คือ อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์ไฟฟ้าเคมี (electrochemical cell) ตั้งแต่หนึ่งเซลล์ขึ้นไป โดยแต่ละเซลล์มีการเชื่อมต่อกันทางไฟฟ้า จึงสามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีที่มีสะสมเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ เซลล์ไฟฟ้าเคมี (electrochemical cell) ประกอบด้วยขั้วไฟฟ้า (electrode) อย่างน้อยสองขั้วที่ทำจากวัสดุที่นำไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของเหลวเมื่อมีการต่อขั้ทั้งสองขั้วของเซลล์ไฟฟ้าเคมีด้วยตัวนำไฟฟ้าเช่น สายไฟ อิเล็กตรอนจะเคลื่อนที่จากขั้วหนึ่งไปยังอีกขั้วหนึ่งโดยทิศทางการเคลื่อนที่จะขึ้นกับสมบัติของขั้วไฟฟ้าและอิเล็กโทรไลต์ การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอย่างต่อเนื่องระหว่างขั้วทั้งสองของเซลล์ไฟฟ้าเคมีผ่านตัวนำ ทำให้เกิด”กระแสไฟฟ้า” ที่นำไปใช้งานได้

อันตรายจากแบตเตอรี่ต่อสิ่งแวดล้อม

  • อาจเกิดส่งผลกระทบต่อระบบร่างกายในระยะยาวได้ ไม่ว่าจะเป็นระบบทางเดินหายใจ หรือ ระบบทางเดินอาหาร เนื่องจากการได้รับสารพิษภายในจากแบตเตอรี่ เช่น สารตะกั่ว สารแมงกานีส สารแคดเมียม สารนิเกิล สารปรอท หรือกรดซัลฟิวริก เมื่อสารเคมีเหล่านี้ได้เข้าสู่ร่างกายก็เกิดอันตรายได้ ซึ่งอาจจะมาจากการสูดดมเข้าไป หรือมีการปนเปื้อนผ่านทางอาหาร
  • การทิ้งและทำลายแบตเตอรี่ผิดวิธี เช่นการทิ้งลงดิน อาจทำให้สารเคมีในแบตเตอรี่นั้นไหลซึมลงสู่ดิน และอาจปนเปื้อนไปยังพืชผัก แม่น้ำ ลำคลอง รวมไปถึงผู้คน และสัตว์ต่างๆ ได้อีกด้วย
  • การเผาหรือทำลาย จะทำให้สารเคมีนั้นปนเปื้อนไปกับอากาศ ซึ่งจะส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจได้ ถ้าหากสูดดมไปมากๆอาจทำให้เกิดโรคมะเร็ง หรือมีผลต่อชีวิตได้

3 วิธีทางในการทิ้งหรือกำจัดแบตเตอรี่ได้อย่างปลอดภัย

  1. หาแหล่งที่สามารถนำไปรีไซเคิลได้ นำออกจากอุปกรณ์และนำไปยังศูนย์รีไซเคิลขยะพิเศษ ห้ามทำการแยกทิ้งไว้กับตัวบ้าน หรือให้แสงแดดส่องถึงจะทำให้เกิดอันตรายได้
  2. มัดใส่ถุง ติดป้ายให้ชัดเจน ทำการมัดใส่ถุง ติดป้ายให้ชัดเจนขยะพิษเพื่อให้คนจัดการขยะทราบและแยกประเภทได้ง่าย ไม่ทิ้งซากฯ ปะปนกับขยะทั่วไป ไม่นำซากฯ ไปเผา ฝังดิน หรือทิ้งในแหล่งน้ำ
  3. โครงการรีไซเคิลต่างๆ เรามักจะเห็นโครงการต่างมากๆมายตามห้าง มีตู้ หรือกล่องกระจกให้เรานำอุปกรณ์ : แบตเตอรี่ มารีไซเคิล จะมีเจ้าหน้าที่เฉพาะ คอยจัดการด้วยความระมัดระวังเพื่อที่จะนำไปบริษัทรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์

แบตเตอรี่แบบชาร์จ หรือ ถ่ายชาร์จ ทางเลือกของคนรักษ์สิ่งแวดล้อม

ถ่านชาร์จ เป็นถ่านที่มีอายุการใช้งานยาวนาน เรียกได้ว่ายาวนานนับปี เพราะใช้หมดแล้วสามารถนำมาชาร์จไฟใหม่และใช้ซ้ำได้ ถ่านชาร์จบางยี่ห้อสามารถชาร์จซ้ำได้หลายพันครั้ง หากลองเฉลี่ยดูแล้ว ถ่านชาร์จราคาหลักร้อยกับการใช้งานได้หลายครั้ง เมื่อนำการใช้งานแต่ละครั้งมาตีเป็นเงิน เผลอๆ อาจจะถูกกว่าการเปลี่ยนถ่านอัลคาไลน์ก้อนใหม่เป็นไหนๆ 

ข้อดีของการใช้ถ่านชาร์จ ถ่านชาร์จใช้งานได้ยาวนาน สามารถนำไปชาร์จไฟด้วยแท่นชาร์จและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งถ่านชาร์จในปัจจุบันได้พัฒนาให้มีรอบชาร์จที่มากขึ้นกว่าเดิม บางยี่ห้อชาร์จไฟได้มากกว่าพันครั้ง นอกจากนั้น ถ่านชาร์จยังสะสมพลังงานได้นานนับปี หากชาร์จไฟไว้แต่ไม่ได้หยิบมาใช้ พลังงานในถ่านชาร์จก็จะยังคงหลงเหลืออยู่ ไม่มีหมดอายุหรือเน่าเสีย

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำไมถึงไม่ควรทิ้งแบตเตอรี่ร่วมกับขยะอื่นๆ”ที่เราได้นำมฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าทุกๆ ท่านจะตระหนักและระวังกันมากขึ้นนะครับ

Franklin Wood

Related Posts

Read also x