Today Thursday, 25th April 2024
Abhinavjournal

Experience Excellence & Beyond

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับรถของเรา

แบตเตอรี่รถยนต์มีกี่ประเภท เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะกับรถของเรา

หากจะกล่าวถึงอุปกรณ์หรือปัจจัยาสำคัญเกี่ยวกับอุปกรณ์ไฟฟ้าของรถยนต์นั้น ก็คงหนีไม่พ้น “แบตเตอร์รี่” ของรถอย่างแน่นอน เพราะทั้งเป็นแหล่งจ่ายพลังงานก็ดี อีกทั้งยังเป็นส่วนสำหรับที่ทำให้รถไฟฟ้าหรือ EV สามารถขับเคลื่อนได้ในระยะเวลาที่นานถึงนั้นเองครับ วันนี้เราจะขอพุกๆ ท่านไปพบกับ “ความรู้เกี่ยวกับ แบตเตอร์รี่” ว่าเป็นอย่างไรแล้วควรเลือกใช้อย่างไรจึงจะเหมาะสม และเพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเลยดีกว่าครับ

แบตเตอร์รี่รถยนต์เป็นอย่างไร?

แบตเตอรี่รถยนต์หรือแหล่งเก็บไฟฟ้าสำรอง ทำหน้าที่ คอยจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ต่างๆ ของรถยนต์ ไม่ว่าจะเป็น ไดสตาร์ท, ระบบจุดระเบิดของเครื่องยนต์เพื่อให้เครื่องยนต์ทำงาน พร้อมยังคอยจ่ายกระแสไฟฟ้าไปยังอุปกรณ์ต่างๆ ให้กับรถยนต์ทุกระบบ ยิ่งในปัจจุบันชิ้นส่วนที่ใช้ไฟฟ้ายิ่งมีมากขึ้นอีกด้วยครับ

ส่วนประกอบแบตเตอรี่รถยนต์

●ขั้วแบตเตอรี่ จะมีสองขั้วคือขั้วบวกและขั้วลบ มีลักษณะเป็นแท่งตะกั่วกลมๆ

●เปลือกของแบตเตอรี่ จะมีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยม

●น้ำกรด ในแบตเตอรี่ทำหน้าที่ให้แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบเกิดปฏิกิริยาทางเคมีที่ทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น

●แผ่นธาตุ โดยจะประกอบไปด้วย แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ โดยจะเรียงสลับกันไปมาซ้อนกันจนเต็ม โดยระหว่างช่องนั้นจะมีแผ่นกั้นอีกที

●แผ่นกั้น ทำหน้าที่ไม่ให้แผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบสัมผัสโดนกัน โดยแผ่นกั้นนั้นทำมาจากยางชนิดแข็ง แผ่นกั้นมีการเจาะรูทั่วแผ่นเพื่อให้น้ำกรดไหลเวียนไปมาได้ระหว่างแผ่นธาตุ โดนขนาดจะเท่ากับแผ่นธาตุ

●เซลล์ จะแบ่งเป็นช่องๆ ซึ่งแบตเตอรี่12V นั้น จะมีทั้งหมด 6 เซลล์ หรือ 6ช่อง โดยในช่องนั้นก็จะมีแผ่นธาตุบวกและแผ่นธาตุลบ โดยส่วนบนนั้นจะเป็นช่องสำหรับไว้เติมน้ำกรดหรือน้ำกลั่น ซึ่งจะมีจุกปิดอีกที

●ฝาปิดเซลล์ หรือจุกปิดช่องเติมน้ำกลด ทำหน้าที่ไม่ไห้น้ำกรดกระเด็นออกมาและด้านบนของจุกปิดนั้นจะมีรูเล็กๆอยู่ ซึ่งทำหน้าที่ระบายก๊าซไฮโดรเจน

แบตเตอร์รี่รถยนต์มีปี่ประเภท และมีข้อดีอย่างไร?

  • แบตเตอรี่แบบแห้ง

แบตเตอรี่แบบแห้ง เป็นแบตเตอรี่ที่ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน หรือสังเกตง่าย ๆ คือไม่มีรูสำหรับเติมน้ำกลั่นเลย ภายในของแบตเตอรี่ตัวนี้ไม่ได้แห้งเหมือนชื่อ แต่ภายในถูกบรรจุด้วยของเหลวสำหรับทำปฏิกิริยานั้นเอง แบตเตอรี่แบบนี้มีการเติมน้ำกรดและชาร์จไฟมาให้เรียบร้อยจากโรงงาน

ข้อดีของแบตเตอรี่แห้ง

– ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นตลอดอายุการใช้งาน สะดวก ดูแลรักษาง่าย

– ได้รับมาตรฐานเท่ากันทุกลูก เพราะได้รับการชาร์จไฟและเติมน้ำกรดจากโรงงาน

– แบตเตอรี่แบบแห้ง เป็นเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาให้ดีกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ มีค่าแอมป์และค่า CCA ที่สูง แรงสตาร์ทก็มากตาม

  • แบตเตอรี่แบบกึ่งแห้ง

แบตเตอรี่ประเภทนี้จะมีความคล้ายกับแบตเตอรี่แบบแห้ง แต่จะแตกต่างกันตรงที่แบตเตอรี่กึ่งแห้งยังคงมีรูสำหรับเติมน้ำกลั่นนั้นเอง

ข้อดีของแบตเตอรี่กึ่งแห้ง

– ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องหมั่นเติมน้ำ (เฉลี่ยเติม 1-2 ครั้งต่อปี)

– ราคาย่อมเยากว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง

– มีความทนทานสูง

  • แบตเตอรี่แบบน้ำ

แบตเตอรี่แบบน้ำ ถือว่าเป็นแบตเตอรี่ที่ใช้มาตั้งแต่ดังเดิม มีความแตกต่างจากแบบแห้งเป็นอย่างมาก มีรูสำหรับการเติมน้ำกลั่น  ซึ่งแบตเตอรี่แบบน้ำนี้ต้องอาศัยการเติมน้ำกลั่นอยู่เสมอ เพราะจะมีการสูญเสียน้ำค่อนข้างสูง ถ้าผู้ใช้งานลืมเติมน้ำกลั่นหรือปล่อยให้น้ำระเหยออกจากแบตเตอรี่หมด จะทำให้แบตเตอรี่เสื่อมสภาพ อายุการใช้งานสั้นลง

ข้อดีของแบตเตอรี่น้ำ

มีราคาถูกกว่าแบตเตอรี่รุ่นอื่น ๆ

อายุการใช้งานนานกว่า หากดูแลและเติมน้ำกลั่นอย่างถูกต้อง อาจอยู่ได้นานกว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง 3-5 เดือน

  • แบตเตอรี่แบบไฮบริด

แบตเตอรี่แบบไฮบริดเป็นลูกผสมของแบตเตอรี่แบบกึ่งแห้งและน้ำ มีค่าแรง CCA สูง มักมีขนาดใหญ่กว่าแบตเตอรี่ประเภทอื่น อาศัยการเติมน้ำกลั่นประมาณ 6-9 เดือนต่อครั้ง

ข้อดีของแบตเตอรี่ไฮบริด

– ราคาถูกกว่าแบตเตอรี่แบบแห้ง

– มีค่าแรง CCA สูงกว่าแบตเตอรี่แบบน้ำ

เลือกใช้แบตเตอร์รี่รถยนต์อย่างไรให้เหมาะสม

●ควรเลือกแบตเตอรี่ที่ได้รับมาตรฐานหรือเป็นยี่ห้อที่มีชื่อเสียง

●ถ้าเป็นไปได้ควรเลือกแบตเตอรี่ที่เพิ่งผลิต เพราะบางทีการใช้แบตเตอรี่ที่ค้าง Stock อาจทำให้ประสิทธิภาพในการใช้งานลดน้อยลงและเสื่อมสภาพไวกว่าปกติ

●ควรซื้อแบตเตอรี่ให้เหมือนกับของเดิมที่ติดมากับรถยนต์ เช่น ขนาดของแบตเตอรี่ แอมแปร์ต้องเท่ากันหรือมากกว่าที่เคยติดมากับตัวรถ

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลเกี่ยวกับ “แบตเตอร์รี่รถยนต์ประเภทต่างๆ ” ที่เราได้นำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

Franklin Wood

Related Posts

Read also x