Today Saturday, 20th April 2024
Abhinavjournal

Experience Excellence & Beyond

พลังเชื้อเพลิงกำลังจะหมดไปจากโลก เป็นไปได้จริงเหรอ

พลังเชื้อเพลิงกำลังจะหมดไปจากโลก เป็นไปได้จริงเหรอ

วิกฤตเกี่ยวกับเรื่องของพลังงานโลกนั้น ได้แสดงให้ทุกท่านๆ ได้เห็นและสัมผัสกันอย่างใกล้ชิดอยู่ในปัจจุบันครับ ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์การขึ้นราคาน้ำมันดิบของตลาดโลกก็ดี ราคาค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าสาธารณูปโภคต่างๆ ก็มาก ซึ่งหลายสิ่งเหล่านี้กำลังบ่งบอกถึงการแย่งชิงและความขาดแคลนพลังให้กับเราเป็นนัยๆ อยู่นั้นเองครับ นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาและวิจัยเกี่ยวกับการใช้พลังงานทางเลือกมากมายเพื่อเป็นแนวทางออกให้กับมนุษยชาติได้ดำรงชีวิตอยู่ต่อไปหลากหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการใช้พลังงานสะอาดต่างๆ ก็ดี การสร้างนวัตกรรมช่วยประหยัดพลังงานก็เยี่ยม แถมยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้อีกด้วยหล่ะครับ บทความนี้จึงขอเป็นประบอกเสียงและขอพาทุกๆ ท่านไปตามหาความจริงเกี่ยวกับ “พลังเชื้อเพลิงกำลังจะหมดไปจากโลก เป็นไปได้จริงเหรอ” กันครับ

พลังงานที่ใช้แล้วหมดไปคืออะไร?

พลังงานใช้แล้วหมดไป คือ พลังงานที่ได้จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในปริมาณจำกัดและจะหมดไปในวันหนึ่ง อีกทั้งยังใช้เวลานานหลายล้านปีหรือไม่สามารถเกิดขึ้นใหม่หรือสังเคราะห์ทดแทนกันได้ ไม่ทันความต้องการใช้ของมนุษย์ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทได้แก่

พลังงานสิ้นเปลืองที่เป็นฟอสซิล เป็นพลังงานที่เกิดจากการทับถมกันของซากพืชซากสัตว์ภายใต้เปลือกโลกเป็นเวลานานหลายร้อยล้านปีจนเปลี่ยนสภาพไปเป็นเชื้อเพลิงที่อาจอยู่ในรูปของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ อาทิ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน

พลังงานสิ้นเปลืองที่ไม่ใช่ฟอสซิลหรือพลังงานนิวเคลียร์ เป็นพลังงานที่เกิดจากการแตกตัว รวมตัว และสลายตัวของสารกัมมันตภาพรังสีแล้วปล่อยพลังงานออกมาในรูปแบบของพลังงานความร้อน สามารถนำมาประโยชน์ในการสร้างความร้อนและผลิตไฟฟ้า

แหล่งพลังงานใช้แล้วหมดไปมีอะไรบ้าง?

ปิโตรเลียม (Petroleum)

น้ำมันปิโตรเลียม หรือ น้ำมันดิบ เป็นน้ำมันดิบที่ได้จากหิน เกิดจากการสลายตัวของสารประกอบอินทรีย์ เช่น ซากพืช ซากสัตว์ และแร่ธาตุบางชนิดที่สะสมทับถมกันมายาวนานจนกลายเป็นของเหลวที่อยู่ใต้ผิวโลกทั้งบนบกและในทะเล น้ำมันดิบประกอบด้วยธาตุหลัก 2 ชนิด ได้แก่ คาร์บอนและไฮโดรเจน และในบางครั้งอาจมีธาตุอโลหะ (เช่น กำมะถัน) ออกซิเจน และไนโตรเจนปะปนอยู่ด้วย ในการนำน้ำมันดิบมาใช้จะต้องสูบขึ้นมาจากใต้ดินเพื่อนำมาผ่านกระบวนการกลั่นจนได้ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา เป็นต้น

ถ่านหิน (Coal)

ถ่านหิน คือ หินชนิดหนึ่งที่สามารถติดไฟได้ โดยเป็นตะกอนที่เกิดจากการสะสมทับถมกันของซากพืชในลุ่มน้ำหรือแอ่งตะกอนน้ำตื้นตามธรรมชาติเป็นเวลาหลายร้อยล้านปี จนเมื่อมีการทับถมของตะกอนมากขึ้น หรือผิวโลกเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด ก็จะทำให้ความกดดันและความร้อนจนทำให้ซากพืชเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงกลายเป็นถ่านหินชนิดต่าง ๆ เช่น พีต ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บิทูมินัส แอนทราไซต์ เป็นต้น ในถ่านหินประกอบด้วยธาตุหลัก ๆ คือ คาร์บอน ไฮโดรเจน ไนโตรเจน และออกซิเจน ถือเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของโลก และเป็นแหล่งพลังงานความร้อนที่มีบทบาทสำคัญในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ก๊าซธรรมชาติ (Natural Gas)

ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่อยู่ในรูปของก๊าซ ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น มีส่วนประกอบ คือ มีเทน อีเทน โพรเพน บิวเทน เพนเทน และกำมะถันในปริมาณที่ต่ำมาก มักพบในเหมืองถ่านหิน บริเวณบ่อก๊าซ และใต้ดินในบริเวณเดียวกับที่พบน้ำมันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงที่สามารถเผาไหม้ได้อย่างสมบูรณ์และสะอาดกว่าพลังงานอื่น ๆ จึงไม่ค่อยส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในอัตราที่ต่ำมาก ปัจจุบันได้มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ประโยชน์กันอย่างกว้างขวางตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงระดับอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิงเพื่อการประกอบอาหารไปจนถึงเชื้อเพลิงสำหรับยานพาหนะ

2 พลังงานทางเลือกที่หน้าสนใจ

●พลังงานคลื่น (Wave Power)

ความคิดที่จะนำพลังงานคลื่นมาใช้นั้นมีแนวคิดมานานแล้ว ซึ่งทางเทคนิคนั้นคลื่น คือรูปแบบที่เกิดขึ้นจากพลังงานลมที่พัดผ่านทะเล พลังงานคลื่นถูกวัดเป็นกิโลวัตต์ (KW) ต่อหนึ่งเมตรของแนวชายฝั่ง โดยชายฝังทะเลของสหรัฐฯ นั้น มีศักยภาพพลังงานคลื่นประมาณ 252 พันล้านกิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี

●พลังงานความร้อนใต้พิภพ (Magma Power)

พลังงานจากความร้อนที่อยู่ลึกใต้พื้นพิภพ สามารถผลิตไอน้ำเพื่อใช้หมุนกังหันและผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดยพลังงานความร้อนใต้พิภพ 10,700 เมกะวัตต์ ถูกสร้างขึ้นทั่วโลกในปี 2010 โดยมีไอซ์แลนด์ ฟิลิปปินส์และเอลซัลวาดอร์ได้นำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติแล้ว

เป็นอย่างไรกันบ้างครับกับข้อมูลที่เรานำมาฝากทุกๆ ท่านกันในวันนี้ เราหวังว่าจะเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

Franklin Wood

Related Posts

Read also x